top of page
รูปภาพนักเขียนKamonwat Suksumek (Khaotu)

บริหารด้วยวิธีคิดเชิงระบบ Supply chain การจัดการวิกฤติโควิด #1


บริหารด้วยวิธีคิดเชิงระบบ Supply chain การจัดการวิกฤติโควิด

🦠 ปัญหาโรคโควิด-19 ระบาด ส่งผลต่อการให้บริการสาธารณสุขเป็นอย่างมาก การวางแผนอย่างเป็นระบบ จะทำให้ประชาชนเข้าถึงการตรวจ และการรักษาที่รวดเร็วบนทรัพยากรที่จำกัดได้

ในบทความนี้จะขอกล่าวถึงการนำแนวคิด Supply chain ⛓ มากางให้ทุกท่านเห็นว่า ว่าการเริ่มต้นดูแลรักษาผู้ป่วย เริ่มต้นที่จุดไหน และต้องทำอะไรต่อบ้าง เพื่อให้เห็นกิจกรรมในภาพรวมทั้งหมด โดยจะกล่าวถึงกระบวนการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาเท่านั้น จะยังไม่รวมถึงประเด็นการฉีดวัคซีน ซึ่งเราจะนำเสนอในลำดับถัดไป


 

อ่านตามหัวข้อ

 

⛓ Supply chain หรือห่วงโซ่อุปทาน

คือ กิจกรรม กระบวนการต่างๆที่ทำงานประสานกันเป็นห่วงโซ่ ตั้งแต่กระบวนการวางแผนการผลิต จัดซื้อ จัดหา ผลิต และส่งมอบ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ใช้ในการวางแผนการผลิตเพื่อส่งมอบผลิตภัณฑ์หรือบริการให้กับลูกค้าได้ครบถ้วน ตรงเวลา และมีประสิทธิภาพนั่นเอง



⛓🏥 ใน Supply chain ของการดูแลประชาชนและผู้ป่วยโควิด จะขอแบ่งเป็น 3 กิจกรรมใหญ่ๆ คือ

1️⃣ การตรวจคัดกรอง

2️⃣ การจัดสรรการรักษา

3️⃣ การรักษาติดตามผล




1️⃣ 👩🏻‍⚕️ วัตถุประสงค์ของการตรวจคัดกรอง คือ

  1. วัดเพื่อคัดแยกผู้ป่วยออก ลดการระบาด

  2. คัดกรองผู้ป่วยเข้าสู่กระบวนการรักษาเร็วที่สุด

ดังนั้น การจึงสามารถออกแบบการตรวจคัดกรองได้หลายรูปแบบ วางอัตรากำลังที่เราจัดสรรได้ในปัจจุบัน สามารถเปรียบเทียบกับกำลังการตรวจที่เหมาะสม เช่น งานวิจัยจากต่างประเทศ หรือ WHO โดยชี้แจงออกมาเป็นตัวเลขที่จับต้องได้ และถอดสูตรทรัพยากรที่ใช้ในการตรวจ เพื่อเตรียมจัดหา หรือผลิตจุดที่เป็นคอขวดล่วงหน้า ไม่ให้เกิดเหตุการตรวจไม่เพียงพอ นอกจากนี้ ในมุมของการปฏิบัติการ สามารถจัดเตรียมกระบวนการนัดหมายและจัดการคิว เพื่ออำนวยความสะดวกให้ประชาชน



2️⃣ 🔬 วัตถุประสงค์ของการจัดสรรการรักษา คือ

Put the right treatment to the right patient จัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่ให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างมีประสิทธิภาพที่สุด ดังนั้นในการตัดสินใจจัดสรรทรัพยากร สิ่งสำคัญคือ

  1. ช่องทางการรวมรวบข้อมูลความต้องการรวมศูนย์ที่ประชาชนเข้าถึงได้

  2. ข้อมูลสถานะทรัพยากรแบบ Realtime และโปร่งใส

  3. ระบบ/เจ้าหน้าที่การจัดสรรทรัพยากรที่เพียงพอ



3️⃣ 🛌🏻 วัตถุประสงค์การรักษา คือ

การดูแลรักษาผู้ป่วยให้ได้เต็มประสิทธิภาพ บนทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด ในมุมของ Supply chain เราจึงเริ่มทำความเข้าใจความต้องการเตียง หรือรูปแบบการรักษาต่างๆก่อน ว่าแบ่งออกเป็นกี่ประเภท หลังจากนั้นทำการออกแบบกิจกรรมใหม่ ปรับการทำงาน เพื่อให้หมอ 1 คน ดูแลคนไข้ได้มากขึ้น โดยมีเทคโนโลยี กระบวนการ และอาสาสมัครที่ผ่านการเทรนมาสนับสนุนการทำงานที่แบ่งเบาภาระได้ แล้วจึงถอดสูตรการผลิต เพื่อหาคำตอบว่า เราจะต้องจัดเตรียมคน เครื่อง จอง อะไรบ้าง เท่าไหร่บ้าง และเมื่อไหร่บ้างนั่นเอง




 

💡 ในโพสต์ถัดไป เราจะพาทุกท่านไปลงลึกในแต่ละกระบวนการ ว่ากิจกรรมนั้นๆ เราสามารถที่จะปรับปรุง หรือพัฒนาอะไรได้บ้างในเชิงระบบ ติดตามได้ในโพสต์ถัดไป

Comments


bottom of page