คนที่มีประสบการณ์ใช้บริการแผนกฉุกเฉินของโรงพยาบาลเคยสงสัยกันไหมว่า ไปถึงก่อนแต่ก็ยังต้องนั่งรอคิว วันนี้ H LAB จะมาแนะนำให้รู้จักเครื่องมือที่ใช้ในการคัดกรองคนไข้ภายในแผนกเวชศาสตร์ฉุกเฉินที่เรียกว่า “Triage” แล้วคุณจะนั่งรอด้วยความเข้าใจมากขึ้น (แต่อย่าไปโรงพยาบาลเลย)
อ่านตามหัวข้อ
การจัดลำดับความสำคัญของคนไข้ภายในแผนกเวชศาสตร์ฉุกเฉิน
แผนก ER นั้นไม่เหมือนกับแผนกอื่นทั่วไป คนไข้ที่ไปถึงก่อนอาจจะไม่ได้รับการรักษาก่อน แต่บุคลากรทางแพทย์จะคัดกรองและจัดลำดับขั้นการรักษา ตามความรุนแรงและความเร่งด่วน โดยระบบการคัดกรองนี้เรียกว่า Triage Algorithm
เครื่องมือที่ใช้ในการคัดกรองคนไข้ภายในแผนกเวชศาสตร์ฉุกเฉินที่เรียกว่า “Triage”
คำว่า Triage นั้นมีที่มาจากภาษาฝรั่งเศส ความหมายแปลตรงตัวว่าการจัดลำดับ ซึ่งระบบ Triage นี้ใช้ครั้งแรกตอนสมัยกษัตริย์นโปเลียนออกรบแล้วจะต้องทำการรักษาทหารที่บาดเจ็บให้สามารถกลับไปออกรบได้เร็วมากที่สุด ซึ่งระบบการคัดกรองนี้นอกเหนือจากจะพิจารณาจากความรุนแรงของอาการบาดเจ็บแล้ว ที่สำคัญคือการบริหารทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ไม่ว่าจะเป็นบุคลากร อุปกรณ์ สถานที่ โดยเฉพาะเวลา โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อลดความรุนแรงและอัตราการเสียชีวิตให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้นั่นเอง
ระดับความรุนแรงและความเร่งด่วน ของ Triage
ต่อมาระบบ Triage นี้ได้ถูกนำมาใช้ในการให้บริการของงานเวชศาสตร์ฉุกเฉินภายในโรงพยาบาล โดยแบ่งตามระดับความรุนแรงและความเร่งด่วน ซึ่งในประเทศไทยมีระบบ Triage 2 แบบ แบบแรกแบ่งออกเป็น 3 ระดับ เรียกกันง่ายๆว่า เขียว เหลือง แดง (Emergent (E) Urgent (U) และ Non-emergent (N)) และแบบ ESI (Emergency Severity Index) เพิ่มเป็น 5 ระดับ ได้แก่ แดง (ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต) เหลือง (ผู้ป่วยฉุกเฉินเร่งด่วน) เขียว (ผู้ป่วยฉุกเฉินไม่รุนแรง) ขาว (ผู้ป่วยทั่วไป) ดำ (ผู้รับบริการสาธารณสุขอื่น) โดยระบบ Triage เป็นระบบคัดกรองที่พิจารณาจากลักษณะผู้ป่วยและสิ่งที่ผู้ป่วยต้องการอย่างมีแบบแผน ยกตัวอย่างเช่น ผู้ป่วยที่มีภาวะหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน ถึงจะมาทีหลังผู้ป่วยที่ประสบอุบัติเหตุบาดเจ็บเอ็นข้อเท้าพลิก แต่ก็จำเป็นจะต้องได้รับการรักษาก่อน เป็นต้น
การนำหลักการระบบคัดกรอง Triage มาใช้ในการตัดสินใจ จัดลำดับขั้นแผนการรักษา
โดยในชีวิตการทำงานจริงภายในแผนกเวชศาสตร์ฉุกเฉินนั้น การนำหลักการระบบคัดกรอง Triage มาใช้ในการตัดสินใจ จัดลำดับขั้นแผนการรักษา รวมไปถึงวางแผนการใช้ทรัพยากรทั้งหมดสำหรับคนไข้ จะต้องทำภายในเวลาไม่กี่นาที ซึ่งมีความซับซ้อนอย่างมาก เพราะเวลาเพียงเสี้ยววินาทีในภาวะวิกฤตนั้นหมายถึงการต่อลมหายใจให้กับคนไข้ ซึ่ง H LAB ได้นำเอาระบบคัดกรอง Triage แบบ ESI ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ยอมรับในระดับสากล บรรจุเป็น guideline algorithm ใน CORTEX ER ซึ่งเป็น platform บริหารจัดการงานเวชศาสตร์ฉุกเฉินที่ H LAB พัฒนาขึ้น โดยนอกจากจะช่วยลดเวลาในการตัดสินใจแล้วบุคลากรภายในแผนก ER ยังสามารถสื่อสารและติดตามสถานะคนไข้ได้อย่างทั่วถึง
Comments