top of page
รูปภาพนักเขียนChalumpol Terdpataweepong

แนวคิด Push-Pull System นำมาปรับใช้กับโรงพยาบาลได้อย่างไร?


แนวคิด Push-Pull System นำมาปรับใช้กับโรงพยาบาลได้อย่างไร?


เครื่องมือที่สำคัญอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในแนวคิด Lean คือ “Push – Pull System” ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมการผลิต และสามารถนำไปปรับใช้กับการจัดการโรงพยาบาลได้เป็นอย่างดี


Push System คือ แนวคิดการผลักอุปทาน (Supply) หรือวัตถุดิบให้ส่งต่อไปตามขั้นตอนต่างๆ ด้วยปริมาณที่คาดการณ์ว่าจำเป็นต้องใช้ในการผลิตสินค้า


Pull System คือ แนวคิดการดึงอุปทาน (Supply) หรือวัตถุดิบให้ส่งต่อมาตามขั้นตอนต่างๆ ด้วยปริมาณที่พอดีกับความต้องการของลูกค้า


 

อ่านตามหัวข้อ

 

ยกตัวอย่างให้เห็นภาพง่ายๆ


Push-Pull System ในโรงงานผลิตรถยนต์


Push-Pull System ในโรงงานผลิตรถยนต์


Push System ในโรงงานผลิตรถยนต์

สมมติ Item A เป็นชิ้นส่วนหนึ่งที่จำเป็นต้องใช้ในการผลิตรถยนต์ ถูกป้อนเข้าคลังสินค้าด้วยอัตรา 100 ชิ้น/วัน แต่มีการนำไปใช้ผลิตรถยนต์เพียง 70 ชิ้น/วัน


✔ ข้อดี

  • มีวัตถุดิบเพียงพอต่อการผลิตแน่นอน

  • สั่งซื้อง่าย เติมสต๊อกสะดวก เช่น สั่งซื้อ 100 ชิ้นเหมือนกันทุกวัน


❗ ข้อเสีย

  • สต๊อกจม ทุนจม

  • ต้นทุนการดูแลคลังสินค้าสูง


Pull System ในโรงงานผลิตรถยนต์

เราทราบข้อมูลความต้องการรถยนต์ของลูกค้า ทำให้เราสามารถผลิตรถยนต์ในปริมาณที่พอดีกับความต้องการ จากแผนภาพ เราผลิตรถยนต์โดยใช้ Item A 70 ชิ้น/วัน เราจึงเติมสต๊อกในอัตราเดียวกัน


✔ ข้อดี

  • สต๊อกน้อย

  • ต้นทุนการดูแลคลังสินค้าต่ำ


❗ ข้อจำกัด

  • หากคำนวณหรือจัดการไม่ดี การผลิตอาจจะหยุดชะงัก วัตถุดิบอาจจะไม่เพียงพอต่อการผลิต


 

💡 แล้วเครื่องมือ Push - Pull System นี้ สามารถนำมาปรับใช้กับโรงพยาบาลได้อย่างไร?

ยกตัวอย่างให้เห็นภาพง่ายๆ

 


Push-Pull System ในโรงพยาบาลแผนกผู้ป่วยนอก


Push-Pull System ในโรงพยาบาลแผนกผู้ป่วยนอก


Push System ในโรงพยาบาลแผนกผู้ป่วยนอก

ที่แผนก OPD A มีการนัดหมายและเรียกคิวผู้ป่วยเข้ามารอตรวจในแผนกปริมาณ 100 คน/ชั่วโมง แต่แพทย์ในแผนกสามารถตรวจผู้ป่วยได้เพียง 50 คน/ชั่วโมง ทำให้ผู้ป่วยรอนาน และเกิดความแออัดในแผนก


✔ข้อดี

  • บุคลากรจัดการง่าย เรียกผู้ป่วยสะดวก


❗ ข้อเสีย

  • ผู้ป่วยรอนาน เกิดความแออัด

  • ความพึงพอใจในการรับบริการต่ำ


Pull System ในโรงพยาบาลแผนกผู้ป่วยนอก

แพทย์ในแผนก OPD A ตรวจผู้ป่วยด้วยปริมาณที่เหมาะสมคือ 50 คน/ชั่วโมง จึงมีการนัดหมายและเรียกคิวผู้ป่วยเข้าตรวจด้วยอัตราเดียวกัน


✔ ข้อดี

  • ผู้ป่วยรอไม่นาน การบริหารจัดการคิวผู้ป่วยราบรื่น

  • ความพึงพอใจในการรับบริการสูง


❗ ข้อจำกัด

  • มีระบบนัดหมายและนโยบายการนัดหมายที่เหมาะสมกับปริมาณผู้ป่วยและขีดความสามารถของแพทย์และบุคลากร

  • มีระบบการจัดการคิวที่ดี ระบบช่วยจัดการคิวอัตโนมัติ


 

💡 Solution


ระบบ FLOW : Patient Flow Management System ที่ H LAB ได้พัฒนาขึ้นมา มี Algorithm ในการนัดหมายและจัดการคิวแบบ Pull system ซึ่งได้มีการติดตั้งใช้งานกับหลายโรงพยาบาล พบว่า สามารถช่วยลดความหนาแน่น ลดระยะเวลารอของผู้ป่วย และที่สำคัญ ลดภาระงานของบุคลากรทางการแพทย์ในการจัดการคิวและการบริการผู้ป่วยได้


Comments


bottom of page